เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปจากแปลงปลูก ดินย่อมสูญเสียธาตุอาหารพืชไปโดยติดไปกับผลิตผลที่เก็บเกี่ยวออกไป และถ้าไม่มีการปรับปรุง บำรุงดินอย่างเหมาะสม ดินท่ีเคยโปร่งร่วนซุยก็จะกลายเป็นแน่นทึบ เนื่องจากอินทรียวัตถุในดินลดลง ทำให้คุณสมบัติต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพืชลดลงจนไม่สามารถให้ผลผลิตสูงได้อีกต่อไป
ดังนั้น ในคำแนะนำการใช้ปุ๋ยโดยทั่วไป จะบอกให้เพิ่มอินทรียวัตถุเพื่อทำให้ดินโปร่งร่วนซุยร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีเพ่ือเพ่ิมธาตุอาหารพืช นั่นการหมายความว่า ในการใช้ปุ๋ยเพื่อให้ต้นไม้ได้ประโยชน์เต็มที่ ต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใส่อินทรียวัตถุ หรือที่เราคุ้นเคยกันกับคำว่าปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมด้วยเสมอ
หลายคนยังไม่เข้าใจเร่ืองปุ๋ยเคมีดีพอ ทั้งๆ ที่เป็นพื้นฐานความรู้ในการทำการเกษตร ปุ๋ยเคมีนั้นเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นมาในทางอุตสาหกรรม เมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นเหมาะสม ปุ๋ยเคมีจะละลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชดูดไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ที่ต้องทำความเข้าใจคือ ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษ และถ้าใช้ได้อย่างถูกต้องแล้ว จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยดีขึ้น และคุ้มค่าต่อการลงทุน การที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีแล้วขาดทุนหรือมีหนี้สินเพ่ิมมากข้ึน ก็เพราะว่าใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
ชาวนาส่วนใหญ่มีความเชื่อผิดๆ ว่า “ถ้าใส่ปุ๋ยมาก จะได้ผลผลิตมาก” การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ต้นข้าวจะอวบเขียวเข้ม แมลงเข้าทำลายได้ง่าย เพราะว่าต้นข้าวจะฉ่ำน้ำ แมลงชอบ แต่ถ้าใช้ปุ๋ยถูกชนิดและปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งให้ปุ๋ยเหมาะกับช่วงที่ต้นไม้ต้องการ ก็จะช่วยให้ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำ เหมือนคนกินอาหารที่ถูกสัดส่วน ได้สารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ร่างกายก็จะแข็งแรง ไม่ล้มป่วยง่าย
ตัวอย่างการใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่ถูกต้อง เช่น ชาวนาใช้ปุ๋ยสูตร 16–20–0 ต่อเนื่องกันมา แต่ไม่เคยรู้เลยว่าดินของตนเองขาดธาตุโพแทสเซียมหรือเปล่า เพราะว่าดินในหลายพื้นที่ของประเทศไทยขาดธาตุโพแทสเซียม ดังนั้นข้าวที่ปลูกในดินที่ขาดโพแทสเซียม แล้วไม่ได้มีการให้ปุ๋ยโพแทสเซียมชดเชยอย่างเพียงพอ ก็จะทำให้ข้าวเมล็ดลีบ ต้นข้าวอ่อนแอ ทำให้โรคและแมลงระบาดง่าย ผลที่ตามมาคือต้องฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นว่าต้นทุนการผลิตก็ต้องสูงขึั้นด้วย รวมทั้งยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของชาวนาและผู้บริโภคอีกด้วย จุดนี้เองคือที่มาของเร่ือง “ปุ๋ยสั่งตัด”
เทคโนโลยี “ปุ๋ยส่ังตัด” เป็นคำที่ ดร. ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ ซึี่งเป็นทีมงานของ ดร.ทัศนีย์ ได้ตั้งขึ้น เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจได้ง่ายว่า การจะให้ปุ๋ยแก่ต้นไม้นั้น ก็เหมือนการไปร้านตัดเสื้อ แล้ววัดตัวก่อนที่จะตัดให้ได้ทรงและขนาดตามต้องการ การใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดก็เช่นกัน เป็นเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นท่ี ซึี่งจะได้คำแนะนำที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พืช ชุดดิน
ที่สำคัญคือปริมาณธาตุอาหารเอ็นพีเค ซึ่งมีอยู่บ้างแล้วในดิน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อจะตอบให้ได้ว่าพืชที่เราปลูกอยู่นั้น ในดินชนิดนั้น ควรให้ปุ๋ยอะไร ในปริมาณเท่าใด เพื่อที่จะให้ผลตอบแทนสูงสุด และคุ้มค่าที่สุด สิ่งที่เคยทำได้ยากในอดีตเช่นการวัดปริมาณธาตุอาหารเอ็นพีเคในดิน เพราะว่าต้องส่งไปตรวจในห้องปฏิบัติการของหน่วยราชการ
ทว่า นักวิจัยคือ ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ได้สร้างเครื่องมือวัดปริมาณธาตุอาหารอย่างง่ายออกมาใช้ได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้เกษตรกรสามารถวัดปริมาณธาตุอาหารในดินของตนเองได้ งานเรื่องปุ๋ยสั่งตัดจึงขยายผลออกไปเรื่อยๆ
คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังเรื่องความก้าวหน้าของการขยายผลของงานนี้ครับ!