85.ส่องภารกิจมูลนิธิ ม.ก.จากทุนการศึกษาสู่ "โรงเรียนทางอากาศ"
โดย เว็บไซต์คมชัดลึก (29/1/64)
ตามที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”ดร.จงรัก วัชรินทรรัตน์”ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีดำริให้จัดทำคลิปวีดีโอสั้นๆประมาณ 1 นาทีเพื่อแนะนำมูลนิธิฯและเชิญชวนให้ผู้สนใจบริจาคเงินโดยวิธีแสกนคิวอาร์โค้ดซึ่งผู้บริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีประจำปีได้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินเนื่องจากมูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 46 ที่ได้รับการยกเว้นภาษีจากกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
84.TFTปุ๋ยสั่งตัด : App ปุ๋ยสั่งตัด เวอร์ชั่นใหม่
โดย เว็บไซต์ปุ๋ยสั่งตัด (12/8/63)
แอพพลิเคชั่น TFTปุ๋ยสั่งตัด ช่วยให้ค้นหาข้อมูล “ชุดดิน” และคำแนะนา “ปุ๋ยสั่งตัด” ได้ง่ายขึ้นบน smartphone เกษตรกรเพียงเก็บตัวอย่างดินให้ถูกวิธี วิเคราะห์ดิน โดยใช้ชุดตรวจสอบดินแบบรวดเร็วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดแอพฯ เลือกชุดดิน แล้วป้อนค่าวิเคราะห์ดิน โปรแกรมก็จะคานวณ “ปุ่ยสั่งตัด” แอพฯ นี้รองรับเฉพาะระบบแอนดรอยด์เท่านั้น
83.เปลี่ยนจาก "สหกรณ์ฯ สร้างหนี้" เป็น "สหกรณ์ฯ สร้างสุข"
โดย ดร.ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์ (2/11/62)
"ปุ๋ยสั่งตัด" นอกจากลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตต่อไร่แล้ว ยังเพิ่มคุณภาพเมล็ดข้าวอีกด้วย ปี 61/62 เปลี่ยนจาก "ข้าวเปลือก" เป็น "ข้าวปลูก" ขายเมล็ดพันธุ์ได้ 200 ตัน ขอขอบคุณ นายสำเนียง โพธิ์สุ ผจก.สหกรณ์การเกษตร (สกก.) โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด ที่เชิญชวนผู้นำ สกก.ไปเรียนรู้ "ปุ๋ยสั่งตัด" ครับ
82.ปุ๋ยสั่งตัด...นวัตกรรมร่วมสมัย
โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (5/09/62)
ผลงานวิจัยปุ๋ยสั่งตัด เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในอดีต แต่สามารถพลิกวิธีคิด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร สร้างผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อภาคการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจบุัน ทั้งยังเป็นนวัตกรรมที่มีศักยภาพและรองรับการพัฒนาในอนาคต ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมร่วมสมัย
81.สำเร็จเกินคาด เกษตรกรถึงบางอ้อ หลังกรมการข้าว จับมือองค์กรต่างๆ และ มูลนิธิม.เกษตรฯ วิทยุ ม.ก.ทำโครงการนำร่องโรงเรียน”ปุ๋ยสั่งตัด”ทางอากาศ
โดย World Variety News (4/09/62)
ให้องค์ความรู้แก่เกษตรกรต้นแบบพื้นที่เชียงใหม่ก่อนขยายผล น้อมนำตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกัน สืบสาน รักษา และต่อยอด
80.ปุ๋ยสั่งตัด บนเส้นทาง 20 ปี
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2/09/61)
ปุ๋ยสั่งตัดเป็นเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่มีความแม่นยำ โดยมีคลินิกดิน เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรไทยให้มีประสิทธิภาพได้อย่างกว้างขวาง
79.ปุ๋ยสั่งตัด เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับการเรียนรู้ของเกษตรกร
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (1/09/61)
การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของเกษตรกรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ปุ่ยในไร่นา เป็นการเปลี่ยนวิธีใช้ปุ๋ยสำเร็จตามคำแนะนำทางการค้า มาเป็นการใช้ธาตุอาหารพืชตามความจำเป็นบนทุนเดิมของดินและความต้องการของพืช
78.เปลี่ยนการใช้ปุ๋ยเคมีของประเทศไทย...ด้วยงานวิจัยปุ๋ยสั่งตัด
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (1/03/61)
ผลจากการปฏิวัตเขียว ในช่วงทศวรรษที่ 6 หรือประมาณ 30 ปีที่ผ่านมานั้น ได้พลิกโฉมรูปแบบการทำการเกษตรของประเทศไทย จากเดิมเป็นการเกษตรแบบสมดุลที่มีการปลูกพืชและใช้วิธีทางธรรมชาติ มาเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวที่ต้องพึ่งพาเครื่องจักรกลการเกษตร ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง
77.ปุ๋ยแบบสั่งตัดประหยัดได้จริง
โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ (14/08/60)
มาเล่าถึงปุ๋ยสั่งตัดใหม่ครับ เพราะมาถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังขับเคลื่อนพลักดัน ให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต และให้ได้ผลผลืตเพิ่ม ซึ่งต้องมีปัจจัยหลายด้านที่ต้องขับเครลื่อนไปพร้อมกัน อย่างปัจจุบันปุ๋ยมีราคาแพงอย่างในวันนี้ ก็อีกส่วนหนึ่งหากเราลดการปุ๋ยที่เกินความจำเป็น ก็สามารถลดค้นทุนการผลิตได้เช่นกัน
76.ปุ๋ยสั่งตัดตอบโจทย์ลดต้นทุนแน่นอน
โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ (17/07/60)
เมื่อปี 2550 ทางกรมส่งเสริมการเกษตร นำเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดไปขยายผลในพื้นที่ปลูกข้าวเขตชลประทาน ภาคกลาง 8 จังหวัด ผลปรากฏว่า ชาวนาลดค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ย ร้อยละ 47 โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งสามารถลดลงได้เกินครึ่ง ที่สำคัญได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 และต้นทุนการผลิต เฉลี่ยลดลง 510 บาทต่อไร่ จากจุดนี้เองก็ได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรมากขึ้นและเริ่มยอมรับเทคโนโลยีกันมากขึ้น
75.พัฒนาการปุ๋ยสั่งตัด จากวันนั้นจนถึงวันนี้และความคาดหวัง
โดย วารสารเคหการเกษตร (15/03/60)
ปุ๋ยสั่งตัด ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างรูปธรรม กรณีของข้าวตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน มีเกษตกรรนำเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดไปลดต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานมากกว่า 20 จังหวัด ค่าปุ๋ยเคมีลดลง 30-50% และผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น
74.ปุ๋ยสังตัดลดต้นทุน (3)
โดย หนังสือคมชัดลึก (27/02/60)
เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้จริง ในปี 2550 กรมส่งเสริมการเกษตร นำเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดไปขยายผลในพื้นที่ปลูกข้าวเขตชลประทาน ภาคกลาง 8 จังหวัด ผลปรากฏว่า ชาวนาลดค่าปุ๋ยเคมีเฉลี่ย ร้อยละ 47 โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งสามารถลดลงได้เกินครึ่ง แต่ปรากฏว่าผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 และต้นทุนการผลิต เฉลี่ยลดลง 510 บาทต่อไร่
73.ปุ๋ยสั่งตัดลดต้นทุน (2)
โดย หนังสือคมชัดลึก (20/02/60)
เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปจากแปลงปลูก ดินย่อมสูญเสียธาตุอาหารพืชไปโดยติดไปกับผลิตผลที่เก็บเกี่ยวออกไป และถ้าไม่มีการปรับปรุง บำรุงดินอย่างเหมาะสม ดินท่ีเคยโปร่งร่วนซุยก็จะกลายเป็นแน่นทึบ เนื่องจากอินทรียวัตถุในดินลดลง ทำให้คุณสมบัติต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพืชลดลงจนไม่สามารถให้ผลผลิตสูงได้อีกต่อไป
72.ปุ๋ยสั่งตัดลดต้นทุน
โดย หนังสือคมชัดลึก (13/02/60)
งานวิจัยการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินและชนิดของดินในแต่ละที่ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาพบว่าส่วนใหญ่สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยลงได้ เพราะว่าจะใช้ปุ๋ยน้อยลงในขณะที่ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการวิจัยของ ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ทำงานวิจัยเร่ื่องนี้มาเกือบยี่สิบปีแล้ว แต่คำถามก็คือทำไมยังต้องนำเรื่องนี้เล่าสู่กันฟังอีก
71.เกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรกรวิเคราะห์ดิน-ปุ๋ย
โดย หนังสือพิมพ์สยามรัฐ (10/01/60)
กรมส่งเสริมการเกษตร โชว์ผลงานส่งเสริมเกษตรกรใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตผ่านศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน 882 ศูนย์ทั่วประเทศดันเกษตกรเป็นกลไกขับเคลื่อนองค์ความรู้ตรวจวิเคราะห์ดิน-ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืช
70.ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยปี 59 ให้เป็นปีแห่งการลดต้นทุน
โดย นิตยสารอู่ข้าว (09/01/59)
ค่าปุ๋ยเคมีเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักในการผลิตพืช ในบรรดาปัจจุัยการผลิต เกษตรกรมีความรู้เรื่องดินและปุ๋ยน้อยที่สุด การใช้ปุ๋ยจึงไม่มีประสิทธิภาพ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยในปัจจุบันยังคงเป็นแบบกว้างๆ หรือที่เรียกกว่า ปุ๋ยเสื้อโหล
69.เตาเผาถ่านแกลบมหัศจรรย์ สำหรับใช้ผลิต "กุนตัง" (Kuntan) ในระดับครัวเรือน
โดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (24/10/58)
"กุนตัง" (Kuntan) เป็นภาษาญี่ปุ่น ใช้เรียก "ถ่านแกลบ" ที่ได้จากการเผาแกลบที่อุณหภูมิสูง "กุนตัง" แตกต่างจาก "แกลบดำ" (ขี้เถ้าแกลบ) ตามโรงสีข้าว เพราะแกลบถูกเผาที่อุณหภูมิสูงกว่ามาก ทำให้คาร์บอนเปลี่ยนสภาพไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ สร้างปัญหาภาวะโลกร้อน
68.ใช้ถ่านแกลบปรับปรุงดิน ในยุคปุ๋ยแพงช่วยลดโลกร้อน...เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น
โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (23/10/58)
"ถ่านแกลบ" วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ถ่านแกลบธรรมดาๆ แต่กลายเป็นวัสดุปลูกชั้นเยี่ยม ซึ่งเป็นข้อมูลที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.K.Kyuma แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต มาแนะนำและสาธิตกระบวนการผลิต พร้อมทั้งวิธีการใช้ ที่ชาวนาและเกษตรกรทุกคนทำได้
67.แก้ปัญหาข้าวโพด พื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (7/04/58)
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ใช้การบันทึกบัญชีครัวเรือน ทำให้ทราบว่าการปลุกข้าวโพดของตนมีต้นการผลิตสูงถึงไร่ละเกือบ 4,000 บาท และครึ่งหนึ่งของต้นทุนเป็นค่าปุ๋ย การใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด สามารถแก้ปัญหาต้นทุนสูงได้
66.เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ลดต้นทุนการผลิตพืชเศรษฐกิจไทย
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (7/04/58)
ปุ๋ยเคมีเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญทางการเกษตร การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการ ต้องมีการวิเคราะห์ธาตุในดินก่อนใส่และเพิ่มปริมาณธาตที่จำเป็น ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่และประหยัดต้นทุน ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
65.ปุ๋ยสั่งตัด เทคโนโลยีเพื่อลดต้นการผลิตของเกษตรกรและการขยายผล
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (23/10/57)
เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พลิกโฉมการใช้ปุ๋ยเคมีของประเทศอย่างก้าวกระโดด แก้ปัญหาเกษตรกรซื้อปุ๋ยผิดชนิดใส่ผิดปริมาณ ทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม
64.ปุ๋ยสั่งตัด..ลดต้นทุนตัวจริง
ไทยรัฐออนไลน์ (19/08/57)
การนำแม่ปุ๋ยเคมีมาผสมเอง ไม่เพียงช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่ามาตรการของ คสช. ที่ขอความร่วมมือให้พ่อค้าปุ๋ยลดราคาลงมากระสอบละ 40-50 บาทเท่านั้น หากส่งเสริมให้เกษตรกรผสมปุ๋ยเอง ในแบบ “ปุ๋ยสั่งตัด” จะช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้มากและยั่งยืนกว่า
63.เทคโนโลยี'ปุ๋ยสั่งตัด'ทางรอดกับดักต้นทุนข้าวไทย
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ (18/08/57)
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ชาวนาไทยได้รับผลกระทบโดยตรง คือ "ต้นทุน" ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความต้องการเพิ่มผลผลิตไปเพื่อตอบสนองการบริโภคและการค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
62.ปุ๋ยสั่งตัด ทางรอดของชาวนาไทย
หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (18/08/57)
เกษตรกรไทยไม่รู้ว่า N-P-K คืออะไร และไม่รู้ว่าที่เขียนข้างกระสอบปุ๋ยมันคืออไร แล้วเวลาจะซื้อต้องเลือกอย่างไร อันนี้คือปัญหาใหญ่อย่างมากจของเกษตรกรไทย
61. คลินิกดิน “ปุ๋ยสั่งตัด”: แก้ปัญหาการใช้ปุ๋ยแบบเบ็ดเสร็จโดยเกษตรกร
โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (14/03/57)
กองทุนคิวม่า (Kyuma Fund) มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดทำโครงการนำร่องหนุนเสริมเกษตรกรสุพรรณบุรี สระบุรีและขอนแก่น ให้จัดตั้งคลินิกดิน “ปุ๋ยสั่งตัด” คลินิกดินฯ ให้บริการ (1) ตรวจดินฟรี (2) ให้คำแนะนำปุ๋ย และ (3) ขายแม่ปุ๋ย เป็นการแก้ปัญหาการใช้ปุ๋ยให้แก่เกษตรกรแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียวโดยเกษตรกร
60. ใช้ปุ๋ยตรงจุดเกิดเหตุ ลดต้นทุนเพิ่มผลิตข้าวได้จริง
โดย วารสารไม่ลองไม่รู้ (14/10/56)
นี่เป็นคำเตือน ถึงเวลาแล้วที่ชาวนาต้องเร่งแบบติดจรวด เพราะตลาด AEC กำลังคืนคลานเข้ามาใกล้มากขึ้นทุกที ข้าวราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านจะทะลักเข้ามา ทำให้ข้าวไทยที่มีราคาสูงกว่าขายไม่ได้ แล้วเราคนไทยจะทำเช่นไรกัน
59. เทคโนโลยีปุ๋ยเคมีสั่งตัด
โดย หนังสือสยามธุรกิจ (18/09/56)
เทคโนโลยีปุ๋ยเคมีสั่งตัด ถือได้ว่าเป็นการติดอาวุธให้แก่อุตสาหกรรมการเกษตรของไทย ด้วยกาทำเกษตรบนฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยให้เกษตรกรสามารถลงปริมาณการใช้ปุ๋ยลง
58. คลินิกดินปุ๋ยสั่งตัด ลดต้นทุนปลูกข้าวไร่ละ 1,500 บาท
โดย วารสารข้าวเศรษฐกิจ (28/08/56)
คลินิกดินปุ๋ยสั่งตัด นำทัพชาวนาสุพรรณบุรี ลดต้นทุนการปลูกข้าวไร่ละ 1,500 บาท
57. คลินิกดินปุ๋ยสั่งตัด แหล่งเรียนรู้ดินและปุ๋ย โดยเกษตรกร เพื่อเกษตรกร
คลีนิกดิน “ปุ๋ยสั่งตัด” เป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ดินและปุ๋ยของชุมชน ดำเนินการโดยเกษตรกรผู้นำ เพื่อเกษตรกรและชุมชน กำหนดเปิดให้บริการ 3 แห่งในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ที่จังหวัดขอนแก่น สระบุรี และสุพรรณบุรี ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนคิวม่า มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
56. ปุ๋ยสั่งตัด ตัวอย่างงานวิจัยที่ไม่ขึ้นหิ้ง
โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (2/2/56)
ผลงานวิจัยที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการผลิตพืชของประเทศ เมื่อเกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้น ย่อมช่วยลดปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
55. ปุ๋ยสั่งตัดสำหรับข้าว และการผสมปุ๋ยใช้เอง
โดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (1/2/56)
จากการศึกษาข้อมูลชุดดินปลูกข้าวจ.กาญจนบุรี และคำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" ของชุดดินเหล่านั้น จึงสรุปเป็นคำแนะนำการใช้ปุ๋ยข้าวตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรนำไปใช้ได้สะดวกขึ้น
54. นวัตกรรมใหม่ เกษตรกรรวยได้ด้วยปุ๋ยสั่งตัด
โดย หนังสือการผสมปุ๋ยใช้เองอย่างง่าย (26/11/55)
ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ กูรูและแกนนำทีมวิจัย "ปุ๋ยสั่งตัด" ขับเคลื่อนทีมวิจัยอย่างเต็มที่ หวังเพียงว่าเกษตรกรไทยมีกินมีใช้ และรวยได้ด้วยการปับความคิด เพิ่มเติมความรู้
53. เทคโนโลยี "ปุ๋ยสั่งตัด" สำหรับข้าวโพด ข้าวและอ้อย
โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (05/11/55)
ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการผลิตพืชของประเทศ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาด้านสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เมื่อเกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้น ย่อมช่วยลดปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ซึ่งในท้ายที่สุดย่อมสร้างความมั่นคงยั่งยืนของประเทศ (เสนอคณะกรรมาธิการฯ ของวุฒิสภา)
52. "ปุ๋ยสั่งตัด" นวัตกรรมการใช้ปุ๋ยข้าวไทย
โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (27/08/55)
ผลการทดลองใช้เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลาง
ปี 2550 พบว่า ลดต้นทุนการผลิตได้ 1,020 บาทต่อไร่ ประเทศไทยมีที่นาชลประทานประมาณ 15 ล้านไร่ ถ้าใช้คำแนะนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่า 15,000 ล้านบาทต่อปี
51. คลินิกปุ๋ยสั่งตัด : เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวและข้าวโพดได้ด้วยตนเอง
โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (26/08/55)
การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดิน และ ค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาโดยนำข้อมูลดิน พืช การจัดการดิน รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์มาคำนวณในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมการปลูกพืช ที่สลับซับซ้อน แต่ทำให้ง่ายสำหรับเกษตรกรนำไปใช้
บทความลำดับที่ (1-50)